วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง

าลเจ้าพ่อหลักเมือง จังหวัดตราดเป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองเป็นอย่างมาก เป็นสถานที่ที่ประชาชนมาสักการะขอพรเพื่อความเป็นสิริมงคล และมีตำนานความศักดิ์สิทธิ์เล่าขานกันมา นอกจากนี้ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง จ. ตราด ยังมีสถาปัตยกรรมแบบจีนที่งดงาม  โดดเด่นและแตกต่างจากศาลหลักเมืองในจังหวัดอื่นๆ ทั่วไป
ตามประวัติกล่าวว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเดินทางมายังเมืองตราดเพื่อรวบรวมไพร่พลนั้นทรงให้ตั้งศาลหลักเมืองนี้ขึ้นตามความเชื่อแบบจีน เพื่อให้เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ช่วยปกป้องคุ้มครองเมืองและประชาชนให้รอดพ้นจากอันตราย และอยู่เย็นเป็นสุข และเป็นศาลหลักเมืองที่อยู่คู่เมืองตราดนับตั้งแต่นั้นมา
มีเรื่องเล่าขานถึงความศักดิ์สิทธิ์ของศาลเจ้าพ่อหลักเมืองแห่งนี้ว่า ครั้งหนึ่งเมื่อฝรั่งเศสเข้ายึดเมืองตราดนั้น ทหารฝรั่งเศสเห็นว่าประชาชนต่างพากันกราบไว้ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองตราดนี้เสมอ จึงต้องการทำลายขวัญและกำลังใจของประชาชน  โดยสั่งให้ถอนเสาหลักเมืองนี้ทิ้งไป แต่ด้วยปาฏิหาริย์ของเจ้าพ่อหลักเมืองนั้น ทำให้ไม่สามารถถอนเสาหลักเมืองขึ้นมาได้ มีแต่เพียงเอนเอียงไปเท่านั้น เมื่อมีการใช้ช้างมาดึงเสาหลักเมืองออกปรากฏว่าช้างเหล้านั้นกลับตกหล่มตายกันหมด ส่วนคนควบคุมการดึงเสาหลักเมืองถึงกับคอหักตาย ตั้งแต่นั้นมาทหารฝรั่งเศสก็ไม่กล้า และล้มเลิกความตั้งใจที่จะถอนเสาหลักเมืองไป
ชาวเมืองตราดเห็นเช่นนั้นก็ศรัทธาในความศักดิ์สิทธิ์ของเจ้าพ่อหลักเมืองตราดอย่างแรงกล้า  และพากันบูรณปฏิสังขรณ์ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองตราด ให้กลับคืนมาเป็นศูนย์รวมแห่งขวัญ และกำลังใจชาวตราดอีกครั้ง  ซึ่งศาลเจ้าพ่อหลักเมืองก็ได้ประดิษฐานคู่บ้านคู่เมืองและปกป้องคุ้มครองชาวเมืองตราดมาจนถึงทุกวันนี้ และเป็นที่เคารพกราบไหว้สืบมา
ความเชื่อและวิธีการบูชา : ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองตราดนั้นเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวไทย และชาวไทยเชื่อสายจีนในจังหวัดตราดมาแต่อดีตด้วยตำนานความศักดิ์สิทธิ์ที่เลื่องลือนั้น  มีความเชื่อว่าหากได้มาสักการะเจ้าพ่อหลักเมืองตราดแห่งนี้แล้วจะเป็นสิริมงคล  และอยู่เย็นเป็นสุข โดยเฉพาะความเชื่อในเรื่องของความแคล้วคลาดปราศจากอันตราย  สามารถเอาชนะเหนืออุปสรรคและศัตรูทั้งปวงได้
เทศกาล งานประเพณี : ในวันขึ้น 6 ค่ำ เดือน 6 ของทุกปี  (ประมาณเดือนพฤษภาคม) จะมีงานบุญประเพณีศาลเจ้าพ่อหลักเมืองตราด เป็นพิธีทางศาสนาที่ผสมผสานกันทั้งแบบไทย และจีน  ชาวจีนในเมืองตราดถือว่าเป็นวัน “เซี่ยกง  แซยิด” หรือวันเกิดของเจ้าพ่อ


อ้างอิง:http://www.coloroftheeasts.com/index.php?page=historytourism_detail&cid=1&id=140
วัดโยธานิมิตร
วัดโยธานิมิตร หรือเรียกอีกชื่อว่า วัดโบสถ์ ตั้งอยู่ที่ถนนเทศบาล ๔ ตรงสามแยกใกล้กับศาลหลักเมือง เป็นวัดหลวงเพียงแห่งเดียวในจังหวัดตราด สร้างขึ้นเมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าตากสินมารวบรวมไพร่พลที่เมืองตราด หากเสร็จสมบูรณ์ในสมัย รัชกาลที่ ๓ วัดแห่งนี้เป็นสถานที่ที่ทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ของบรรดาข้าราชการตั้งแต่สมัย สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ต่อมา ในสมัยรัชกาลที่ ๕ จึงได้เปลี่ยนมาทำพิธีที่วัดไผ่ล้อม
 วัดโยธานิมิต ตั้งอยู่ที่หมู่ 1  ถ.เทศบาล 4  ต.วังกระแจะ  อ.เมือง  จ.ตราด ชาวบ้านนิยมเรียกว่า วัดโบสถ์  วัดนี้มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ กล่าวคือ เป็นสถานที่ที่พระเจ้าตากสินใช้รวบรวมไพร่พลคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่2  และได้ใช้กำลังพลขนมูลดินไว้เพื่อสร้างวัด  ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3  ได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาพระคลังคุมทัพเรือมาทำสงครามกับเขมร  และระหว่างที่พักกองทัพอยู่นั้น  ได้พร้อมใจกันสร้างวัดขึ้นขนานนามว่า วัดโยธานิมิต  เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจระลึกถึงการที่เคยได้ร่วมรบ ร่วมกิน ร่วมนอนมาด้วยกัน  โบราณสถานที่สำคัญของวัดนี้ ได้แก่ วิหาร (โบสถ์เก่า) ซึ่งเป็นศิลปะแบบอยุธยา  ภายในมีภาพเขียนเรื่องเวสสันดรชาดก  และเคยเป็นสถานที่ถือน้ำพิพัฒน์สัตยาของข้าราชการเมืองตราด (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ, 2542:87-88, 149-150)
ในส่วนของพระอุโบสถเป็นศิลปะแบบอยุธยา มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่องพระเวสสันดรชาดก ปัจจุบันกลายเป็นพระวิหาร  เรียกว่า วิหารโยธานิมิตร และเป็นที่เก็บโบราณวัตถุ อาทิ หนังสือใบลาน คัมภีร์เทศน์ และรอยพระพุทธบาท พระวิหารนี้ได้รับการบูรณะครั้งล่าสุดเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘ โดยซ่อมแซมหลังคา เสา ประตู หน้าต่าง ฝาผนังภายนอกที่ชำรุด แต่ยังคงรักษารูปทรงเดิมไว้
ที่อยู่ : วัดโยธานิมิตร หรือ วัดโบสถ์ อำเภอเมือง จังหวัดตราด
การเดินทาง : จากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 3 (ถนนสุขุมวิท) ตรงข้ามโรงพยาบาลตราด เลี้ยวแยกซ้ายเข้าไปประมาณ กิโลเมตร

อ้างอิง:http://www.coloroftheeasts.com/index.php?page=historytourism_detail&cid=1&id=139
ท่าน้ำจังหวัดตราด

ท่าน้ำจังหวัดตราด เป็นที่สำคัญอีกที่หนึ่ง ทุกตอนเย็นจะมีคนมาออกกำลังกาย และจะมีคนมาเที่ยว กินอาหาร มาสังสรรค์ เป็นสถานที่ ที่รู้สึกเย็นสบาย ช่วงเทศกานก็จะมีคนมาเที่ยว เช่น งานอาหารทะเล และงานต่างๆอีกมากมาย อยากให้ทุกคนรองมาเที่ยวกันครับ
อ้างอิง:https://www.google.co.th

วัดบุปผาราม
      รือเรียกอีกชื่อว่า วัดปลายคลอง ตั้งอยู่หมู่ 3 บ้านปลายคลอง ถนนพัฒนาการปลายคลอง ตำบลวังกระแจะ อำเภอเมือง จังหวัดตราด เป็นวัดเก่าแก่ที่สุดในจังหวัด สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยาฯ รวมรัชสมัยพระเจ้าปราสาททอง (พ.ศ. 2198) ท่านพระครูคุณสารพิสุทธิ์ (หลวงพ่อโห) อดีตเจ้าอาวาสในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้บูรณะปฏิสังขรณ์เสนาสนะถาวรวัตถุในวัด จวบจนปัจจุบันท่านพระครูสุวรรณสารวิบูล พร้อมทั้งชาวบ้านได้ร่วมแรงร่วมใจกันจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ และดูแลภูมิทัศน์โดยรอบวัดให้สะอาดเรียบร้อย วัดนี้จึงเป็นศูนย์กลางการปฏิบัติศาสนกิจ สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ได้แก่
          พิพิธภัณฑ์  เป็นแหล่งรวบรวมโบราณวัตถุอันทรงคุณค่าไว้มากมายโดยเฉพาะพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งเป็นมงคลสูงสุดคู่บ้านเมือง และพระพุทธรูปต่างๆ รวมทั้งเครื่องถ้วยจีน เครื่องถ้วยยุโรป กลองมโหระทึก แสดงให้เห็นถึงการเดินทางแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างเมืองท่าชายฝั่งทะเลตะวันออกกับเมืองท่าโพ้นทะเลในแถบเอเชียอาคเนย์ข้ามไปไกลถึงซึกโลกตะวันตก
          ภาพจิตรกรรม  ฝาผนังโบสถ์ และวิหารพระพุทธไสยาสน์ เขียนขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นฝีมือช่างท้องถิ่นแต่ล้วนแล้วผสมกลมกลืนด้วยศิลปะจีน และวรรณคดีจีน แสดงให้เห็นว่าวัดแห่งนี้อาจได้รับการอุปถัมภ์จากชาวจีนที่มาค้าขายแถบชายฝั่งทะเลตะวันออก นอกจากนี้ภายในวัดยังมี หมู่กุฎิเล็กทรงไทย ที่สร้างได้ถูกต้องตามพระวินัยบัญญัติ มีขนาดพอแค่ภิกษุอยู่ได้รูปเดียวเท่านั้น หอสวดมนต์ เจดีย์ ที่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย
          สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ 0-3951-2636





อ้างอิง:http://www.coloroftheeasts.com/

ริมเขื่อน

ริมเขื่อนเป็นที่ ที่ดูแล้วดูร่มเย็น ตอนเช้าจะมีอากาศดี จะมีคนมาวิ่งและปั่นจักรยานกันทุกเช้าและเย็น และจะมีร้านอาหารมากมายเช่น ร้านสมใจหมูกระทะ ร้านเหล้า และร้านอาหารต่างๆอีกมากมาย อยากให้ทุกคนได้มาสัมพัสบรรยากาศยามเช้าและเย็๋นจะได้รู้ว่าเป็นอย่างไร





อ้างอิง:https://www.google.co.th/search?q=ริมเขื่อน+จังหวัดตราด
พิพิธภัณฑสถานเมืองตราด

พิพิธภัณฑสถานเมืองตราด ตั้งอยู่ที่ถนนสันติสุข อำเภอเมือง จังหวัดตราด พิพิธภัณฑสถานประจำเมืองแห่งนี้ใช้อาคารศาลากลาง จังหวัดหลังเดิมเป็นพิพิธภัณฑ์ฯ เป็นแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และวิถีชีวิตเมืองตราด รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ส่งเสริม เผยแพร่มรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติและเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางด้านวัฒนธรรม  โดยแต่เดิมอาคารหลังนี้ใช้เป็นสถานที่ราชการ ของจังหวัดตราด มีลักษณะเป็นอาคารไม้ชั้นเดียวใต้ถุนสูง แต่ต่อมาเมื่อศูนย์ราชการได้ย้ายไปที่ทำการใหม่ อาคารหลังนี้ก็ถูก ปล่อยให้ว่างเปล่าเป็นเวลานานจนสภาพอาคารเสื่อมโทรมไปหมดทั้งหลัง ต่อมากรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ได้ขึ้นทะเบียนศาลากลาง จังหวัดตราดหลังเก่าให้เป็นโบราณสถาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ ๑๘ ธ.ค.๒๕๓๙ เล่มที่ ๑๑๓ ตอน พิเศษ ๕๐ง หน้า ๓ และเมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๔๗ อาคารศาลากลางจังหวัดตราดหลังเก่าซึ่งเป็นโบราณสถาน ได้ถูกเพลิงไหม้เกือบทั้งหลังเหลือไว้แต่เสา โดยฝีมือของคน สติฟั่นเฟือนที่เข้ามาพักอาศัยหลับนอน   ปี พ.ศ.๒๕๔๘ ข้าราชการ ประชาชนชาวตราดได้ร่วมกันพิจารณาเห็นว่า น่าจะบูรณะอาคารศาลากลางจังหวัดตราด หลังเก่าที่ถูกไฟไหม้ขึ้นมาใหม่ ให้คงรูปแบบเดิมเพื่อจัดตั้งเป็น พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและวิถีชีวิตชาวจังหวัดตราด โดยขอให้กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม เป็นผู้ออกแบบ และประมาณการค่าใช้จ่ายทั้งหมด ซึ่งกรมศิลปากร ได้ดำเนินการบูรณะ ซ่อมแซม ปรับปรุงอาคารหลังเก่าได้เสร็จสิ้นเรียบร้อยเมื่อเดือนกันยายน ๒๕๔๙ 

อ้างอิง    http://paiduaykan.com/province/east/trat/tradmuseum.html

ครองบางพระ

ชุมชนคลองบางพระ ในอดีตเคยเป็นที่พบปะแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าของคนหลายกลุ่ม ซึ่งเป็นเส้นทางคมนาคมหลักที่บรรดาชาวเกาะจะล่องเรือมาทางปากแม่น้ำเพื่อนำมะพร้าวมาส่งที่บ้านบางพระ ขณะเดียวกันพ่อค้าชาวจีนก็จะล่องเรือสำเภานำสินค้าจำพวกเสื้อผ้าแพรพรรณและเครื่องถ้วยกระเบื้องเข้ามาขาย  ปัจจุบันริมคลองบางพระยังมีเรือนแถวไม้เก่าแก่ที่เคยเป็นร้านค้านับร้อยคูหาและมีร้านค้าแบบโบราณเหลืออยู่บ้างซึ่งมีคุณค่าควรแก่การเที่ยวชมเพื่อเรียนรู้โฉมหน้าของเมืองตราดในอดีต



อ้างอิง     http://www.paiduaykan.com/travel/%E0%B8%8A%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0